การเตรียมการก่อนเทคอนกรีต

การเตรียมตัวก่อนเทคอนกรีต
600 400 admin

     ก่อนจะถึงขั้นงานเทคอนกรีตผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้อย่างละเอียดคือแบบหล่อ ผู้ควบคุมงานจะต้องตรวจดูความเรียบร้อยก่อนที่จะอนุญาตให้ผูกเหล็กเสริม แบบหล่อจะต้องมีขนาดภายในเท่ากับหน้าตัดขององค์อาคารที่กำหนดไว้ในแบบพอดี ถ้าปรากฎว่าขนาดคานเล็กกว่ากำหนดจะทำให้ส่วนปลอดภัยของคาน

     นั้นลดลง หรือถ้าคานลึกกว่าที่ระบุในแบบอาจกระทบต่อการติดวงกบหน้าต่าง เป็นต้น วัสดุที่ใช้ทำแบบหล่อจะต้องเลือกใช้ชนิดที่เมื่อถูกน้ำแลัวไม่พองบวมหรือเปลี่ยนรูป รอยต่อของแบบจะต้องยาให้ดีไม่ให้น้ำปูนรั่ว อาจใช้แผ่นสังกะสีตีตามรอยต่อ หรืออุดด้วยปูนทราย หรือ วัสดุอื่นที่เหมาะสม ถ้าเป็นคอนกรีตเปลือยและสถาปนิกได้กำหนดชนิดวัสดุ และรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ร่องเพื่อให้ปรากฏบนผิวคอนกรีตหลังถอดแบบแล้ว ผู้ควบคุมงานจะต้องดูแลให้เป็นไปตามนั้นด้วย การชะโลมแบบหล่อด้วยน้ำมัน หรือสารเคมีสำหรับใช้ทาแบบเพื่อป้อง

     กันมิให้คอนกรีตติดแน่นกับแบบหล่อ จะต้องใช้ในปริมาณพอสมควร ถ้ามากเกินไปคนงานมักเหยียบย่ำและเปื้อนเหล็กเสริมทำให้การยึดหน่วงระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเสียไปได้มากและน้ำมันหรือน้ำยาที่ใช้ทาแบบหล่อนั้นก็จะต้องเลือกชนิดที่ไม่เป็นอันตรายต่อคอนกรีตหรือปูนฉาบ เช่น บางอย่างจะติดผิวคอนกรีตจนทาสีไม่ติด เป็นต้น หลังจากนั้นต้องตรวจสอบแนวราบ แนวดิ่งและมุมเอียง ตลอดจนระดับของแบบหล่ออย่างละเอียด จะต้องเผื่อด้วยว่าจะมีการเทปูนทรายทับหน้า และผิวทำด้วยอะไร เช่น หินขัด ปูกระเบื้องเซรามิค กระเบื้องยาง หรือพรม ซึ่งแต่ละชนิดความหนาจะไม่เท่ากัน จริงๆ แล้วควรทำระดับด้วยกล้องระดับ ไม่ควรใช้ระบบสายยาง เพราะมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย และการผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจมีผลกระทบต่อสิ่งอื่นๆ ได้มาก เช่น ระยะสูงจากพื้นถึงเพดานน้อยกว่าที่กำหนดในกฎหมายอาจเกิดปัญหาในการออกใบอนุญาตใช้งาน เป็นตัน ยิ่งกว่านั้น

     หากพื้นหนาเกินไปมากๆ จะทำให้ส่วนปลอดภัยของอาคารลดลงทั้งโครงสร้างและฐานรากเพราะต้องรับน้ำหนักบรรทุกเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นต้องดูแลค้ำยันของแบบหล่อให้แข็งแรง และการวางค่ำยันบนดินต้องกระทำด้วยความระมัดระวังดังที่เคยกล่าวมาแล้ว